fbpx

รู้จักกับ โฟลิก และ 5 โรคพิการแต่กำเนิดเมื่อคุณแม่ขาดโฟลิก

Writer : blahblahboong
: 28 มีนาคม 2562

รู้หรือไม่ แต่ละปีจะมีเด็กพิการแต่กำเนิดมากถึงกว่า 30,000 คน ซึ่งความพิการนี้มีสาเหตุมาจาก “การเจริญเติมโตที่ผิดปกติของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์” เป็นผลมาจากการที่คุณแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียง และ โฟลิก ก็เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่คุณแม่มักละเลยไป เรามารู้จักโฟลลิกนี้ให้มากขึ้นกัน รวมทั้งโรคพิการแต่กำเนิดที่จะตามมาหลังจากที่คุณแม่ขาดโพลิกค่ะ

โฟลิก วิตามินฮีโร่ป้องกันโรคพิการแต่กำเนิด

  • โฟเลต หรือ วิตามินโฟลิก
  • สารอาหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “สร้างรหัสพันธุกรรม” ดีเอ็นเอ ยีนและโครโมโซม
  • ควรได้รับช่วง 28 วันแรกหลังจากปฏิสนธิ (อย่างน้อย 1 ถึง 2 เดือนก่อนการตั้งครรภ์)
  • ควรรับประทานโฟเลตขนาด 400 ไมโครกรัม หรือวันละ 1 เม็ด
  • ทานต่อเนื่องไปถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

กินวิตามินโฟลิกไม่มีผลเสียและไม่ตกค้างในร่างกาย

โรคหลอดประสาทไม่ปิด

ภาวะสมองสร้างไม่สมบูรณ์ ร้อยละ 90 ของทารกมีชีวิตเกิน 1 ปี เพราะได้รับการผ่าตัดแก้ไข และร้อยละ 75 มีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่แต่จะพิการขาทั้งสองข้าง ระบบทางเดินปัสสาวะและอุจจาระทำงานบกพร่อง และยังมีความพิการทางสมองอีกด้วย

โรคปากแหว่งเพดานโหว่

เป็นความพิการของส่วนศีรษะและใบหน้า สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และภาวะขาดสารของแม่ในขณะที่ตั้งครรภ์ ฯลฯ ทารกจะมีปัญหาการดูดกลืนอาหาร เจริญเติบโตช้า ระบบทางเดินหายใจ และปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและภาษา นอกจากนี้ยังกระทบกับจิตใจด้วย เนื่องจากเด็กจะมีปมด้อยในการเข้าสังคมเพราะหน้าตาและการพูดไม่ปกติแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมแล้วก็ตาม

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย โรคนี้มีความแตกต่างกันไปตามด้านพยาธิสภาพ และอาการแสดง การรักษาและการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงแตกต่างกัน โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินการรักษาเป็นรายๆ ไป

แขนขาพิการ

เกิดจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก แม่ไม่ได้วิตามินโฟลิก หรือกินอาหารที่มีโฟเลต  จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ ซึ่งทารกจะแสดงอาการตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ แขนขาทารกอาจได้รับการพัฒนาปกติ  แต่มือและเท้าขาดหายไป หรือกระดูกเชิงกรานขาดไป เป็นต้น

กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม

ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ในคนปกติจะมี 46 โครโมโซม แต่คนที่เป็นโรคดังกล่าวมี 47 โครโมโซม ถือเป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดจากแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เด็กจะมีลักษณะของตาที่เฉียงขึ้นบน, ดั้งจมูกแบน, ตาห่าง, มือเท้าสั้น, กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และมักจะมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย และมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า

อาหารอุดมโฟลิก

  • ไข่แดง
  • ตับ
  • ผักใบเขียวเข้ม
  • แครอท
  • ถั่วลันเตา
  • ฟักทอง
  • อาโวคาโด
  • ถั่ว

อ้างอิง

Thai Health

 

Writer Profile : blahblahboong

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7 ขั้นตอนล้างมือให้สะอาด
ข้อมูลทางแพทย์
มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
Update
ข่าว ข่าว
กลับมาสร้างความสุขให้น้องๆ หนูๆ และทุกคนในครอบครัวกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง กับโชว์ที่ทุกคนรอคอย ดิสนีย์ ออน ไอซ์ (Disney On Ice) สุดยอดการแสดงบนลานน้ำแข็งระดับโลกของเหล่าตัวการ์ตูนดังจาก วอลท์ ดิสนีย์ เตรียมออกเดินทางผจญภัยสู่โลกแห่งจินตนาการอันมหัศจรรย์ บนเส้นทางแห่งความทรงจำสุดสนุกไปกับ มิคกี้ เมาส์ และผองเพื่อนอีกมากมาย ในตอน “ดิสนีย์ ออน ไอซ์ พรีเซ้นท์ส มิคกี้ แอนด์ เฟรนด์ส” (Disney On Ice Presents Mickey and Friends มาร่วมสัมผัสความมหัศจรรย์ของโลกแห่งจินตนาการ รอยยิ้มแห่งความสุข  ผ่านการเดินทางผจญภัยของ มิคกี้ เมาส์ และผองเพื่อน มินนี่ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และกู๊ฟฟี่ เพื่อค้นหาความทรงจำที่ประทับอยู่ในใจของเขาตลอดกาล ผ่านเรื่องราวการ์ตูนดิสนีย์ พร้อมแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ที่น่าจดจำจากนิทานอันล้ำค่า ไปกับเหล่าตัวการ์ตูนดิสนีย์ที่ทุกคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น “โมอาน่า” (Moana), “เมาอิ” (Maui), “แอนนา” (Anna) และ “เอลซ่า” (Elsa), และสัมผัสกับเรื่องราวมหัศจรรย์ เวทมนตร์อันลึกลับของ “แฟนเทเชีย” (Fantasia) เมื่อนักเวทย์ฝึกหัด กับการแสดง “ดิสนีย์ ออน ไอซ์ พรีเซ้นท์ส มิคกี้ แอนด์ เฟรนด์ส” (Disney On Ice Presents Mickey and Friends) บัตรพร้อม ลูกพร้อม ก็ไปกันเลยค่า ลุย!! 🗓ระหว่างวันที่ 23 -…
21 กุมภาพันธ์ 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save