fbpx

รวมโรคกระดูกเด็ก แก้ได้แต่อย่าเพิกเฉย พร้อมวิธีสังเกตและผลกระทบจากการเดินที่ผิดปกติ

Writer : Mneeose
: 1 กุมภาพันธ์ 2562

ร่างกายที่แข็งแรงของลูกน้อย เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่ลูกจะเติบโตขึ้นเป็นเด็กที่แข็งแรง เราจึงต้องดูแลรักษาพร้อมทั้งเสริมสร้างให้กระดูกของลูกไม่หักได้ง่าย โรคกระดูกเด็กมีหลายประเภท เราขออาสาพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับโรคกระดูกต่างๆ ของเด็กกันเลยค่ะ

รู้จักกับโรคกระดูกเด็ก แก้ได้แต่อย่าเพิกเฉย

อาการที่น่าสงสัยของโรคกระดูกเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่แรกคลอดจนถึงปฐมวัยเลยค่ะ ซึ่งโรคกระดูกส่วนใหญ่จะแสดงออกมาให้เห็นทางด้านร่างกายของลูก ถ้าเราหมั่นสังเกตเราก็จะรู้ว่าลูกเป็นอะไร แล้วพาเขาไปพบแพทย์รักษาตามอาการได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองค่ะ

1. โรคเท้าบิดเข้า

“โรคนิ้วเท้าบิดเข้าด้านใน” มีลักษณะปลายเท้าของลูกนั้นจะผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ปลายนิ้วเท้าชี้เข้าหากันไม่เหมือนเด็กทั่วไป บิดๆ งอๆ ถ้าลักษณะของปลายเท้าลูกเหมือนในภาพ คุณแม่ก็สบายใจได้เลยค่ะ เพราะจากการศึกษาพบว่า เด็กทารกที่เป็นแบบนี้เกือบทั้งหมดจะกลายเป็นปกติ เมื่ออายุประมาณ 5 – 6 ขวบ แต่ก็มีประมาณ 14% เท่านั้นที่ยังคงปกติอยู่

ซึ่งการรักษามีหลายวิธีนะคะ ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เท้าบิดไม่มากก็ไม่ต้องทำอะไร รอเวลาให้หายไปเอง หรือถ้ามีเท้าบิดเข้ามากก็อาจจะใส่เฝือก เพื่อดัดปลายเท้าครั้งละ 2 อาทิตย์ ซัก 2-3 ครั้งแต่ถ้าเด็กอายุมากกว่า 7 ขวบแล้วยังมีความผิดปกติอยู่ก็จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นโรคอะไรขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปตรวจกับหมอกระดูกและข้อ หรือหมอเด็กจะได้รู้ว่าเป็นอะไรและต้องรักษาหรือไม่อย่างไร คุณแม่จะได้สบายใจขึ้นด้วยค่ะ

 

2. โรคเท้าปุก

เป็นความผิดปกติของเท้าทารกซึ่งพบว่าเป็นมาตั้งแต่แรกเกิด หลังคลอดจากการตรวจร่างกายทารกจะพบว่า เท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ทารกมีลัษณะผิดรูปตั้งแต่ข้อเท้าลงไป เท้าจิกลงด้านล่าง ฝ่าบิดเข้าด้านในและหงายขึ้น สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูผ่านอัลตราซาวด์ โรคเท้าปุก (Clubfoot) สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ การรักษาที่ได้ผลดีสูงสุดคือ หลังคลอดต้องรีบเข้ารับการรักษาทันทีค่ะ

 

3. สะโพกหลุด หรือสะโพกหลวม

สะโพกหลุด หรือสะโพกหลวม มีวิธีสังเกตข้อสะโพกหลุดง่ายๆ คือ คุณแม่ลองจับขาตั้งเข่าขึ้น จะเห็นว่าเข่าข้างที่มีข้อสะโพกหลุดจะอยู่ต่ำกว่าข้างปกติ แต่ถ้าเข่าสูงเท่าๆ กันก็อาจมีข้อสะโพกหลุดทั้ง 2 ข้าง หรือสะโพกหลุดแล้วเข้าที่เองได้ (ข้อสะโพกหลวม)

แพทย์จะมีวิธีตรวจว่าข้อสะโพกหลุด หรือข้อสะโพกหลวม และจะต้องถ่ายภาพเอกซเรย์สะโพกด้วย

สำหรับการรักษาลูกที่อายุแค่ 1 สัปดาห์ อาจจะใส่สายดึงรั้งข้อสะโพกหรือเฝือก ซึ่งขึ้นอยู่กับแพทย์ที่รักษาว่าจะใช้แบบไหนจึงจะเหมาะสม และที่สำคัญคุณแม่อย่าลืมถามวิธีดูแลลูก วิธีให้นม วิธีทำความสะอาด และวิธีดูแลสายดึงรั้งหรือเผือกด้วย

แนวทางในการรักษาแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ค่ะ

  • อายุน้อยกว่า 6 เดือน

ใส่อุปกรณ์พยุงข้อสะโพก 4-6 สัปดาห์ ถ้าข้อสะโพกเข้าที่ดีก็จะใส่ต่ออีกประมาณ 8 ถึง 12 สัปดาห์ เพื่อให้เนื้อเยื่อและข้อสะโพกแข็งแรงมากขึ้น

  • อายุ 6 เดือนถึง 2 ขวบ

รักษาด้วยวิธีดึงให้เข้าที่และใส่เฝือก

  • อายุมากกว่า 2 ขวบ

รักษาด้วยการผ่าตัดดึงกระดูกให้เข้าที่ หรือผ่าตัดกระดูกต้นขา กระดูกสะโพก และเชิงกราน

 

4. ขาโก่ง

ภาวะขาโก่งหรือขาฉิ่งนั้น มักจะเป็นกับเด็กทารกแรกเกิดเกือบทุกคนเพราะในขณะที่อยู่ในครรภ์ เพราะในมดลูกที่มีพื้นที่อันน้อยนิดของแม่ช่วงสุดท้ายก่อนคลอดต้องอยู่ในท่างอตัว งอเข่า งอสะโพก ขา เท้าไว้เป็นเวลานาน เมื่อคลอดออกมาก็ทำให้เห็นว่าขาโก่งซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า Physiologic Bow Legs โดยเมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะเริ่มพัฒนาและขาก็จะเริ่มตรงได้เอง

พัฒนาการของเด็กปกติ

  • ทารกแรกเกิดจะมีขาโก่งออกประมาณ 15 องศา แล้วจะค่อยๆ ตรงเมื่ออายุ 1.5 ถึง 2 ขวบ
  • เด็กมีอายุได้ 2 ถึง 3 ขวบเป็นขาฉิ่ง ก็คือขาโก่งเข้าประมาณ 10 ถึง 12 องศา
  • เมื่ออายุ 6-8 ขวบ ขาจะโก่งน้อยลงเหลือประมาณ 5-6 องศาเท่ากับผู้ใหญ่
  • หลังจากอายุ 8 ปี มุมของเข่าจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
  • อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือในเด็กปกติตำแหน่งที่โก่งจะอยู่ตรงข้อเข่า และมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองข้าง

ถ้าลูกอายุ 2 ขวบเป็นขาฉิ่ง และมีลักษณะเหมือนกันทั้ง 2 ข้างก็แสดงว่าปกติค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยไปไม่ต้องสนใจนะคะ ยังมีสิ่งที่คุณแม่ต้องคอยสังเกตถ้ามีขาโก่งมากขึ้นเร็วขึ้นหรือถ้าทางเดินผิดปกติไม่แน่ใจก็พาไปพบแพทย์ก่อนนัด แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดความผิดปกติแบบนั้น แต่ถึงแม้ว่าจะผิดปกติมาก ก็ยังมีวิธีการที่จะรักษาค่ะ เช่น ใส่เฝือก อุปกรณ์ดัดท่อ หรือผ่าตัดค่ะ

 

5. นิ้วหัวแม่มือเกิน

นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าอาจมีจำนวนมากหรือน้อยกว่าเท้าละ 5 นิ้ว ซึ่งนิ้วที่เกินจะมีขนาดเล็กกว่านิ้วหัวแม่มือปกติ ช่วงเวลาในการผ่าตัดที่เหมาะสมคือ 1 ถึง 2 ขวบค่ะ ร่างกายเด็กจะแข็งแรงพอที่จะทนต่อการดมยาสลบในระหว่างผ่าตัดได้ค่ะ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกาย และเอกซเรย์ว่านิ้วที่เกินนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่นเส้นเอ็น กระดูกข้อต่อ เป็นต้น เพื่อที่คุณหมอจะได้ทำการผ่าตัดเอานิ้วนั้นออกได้ โดยลูกจะไม่เป็นอันตรายค่ะ

 

6. โรคเข่าโก่งขึ้น

โรคเข่าโก่งขึ้น มีลักษณะตรงหัวเข่านั้นโก่งจนทำให้รูปลักษณ์ของขาเด็ก มีลักษณะผิดปกติไปจากเด็กธรรมดาค่ะ

โรคเข่าโก่งขึ้น พบไม่บ่อยในเด็กนะคะ การรักษาเริ่มด้วยการดัดเข่า และใส่เฝือกเป็นระยะทุก 1-2 อาทิตย์ ค่อยๆ ดัดเข่าจนกระทั่งเขางอได้มากกว่า 90 องศา ทำใจไว้ก่อนเลยว่าอาจจะต้องใส่เฝือกหลายเดือน และหลังจากเอาเฝือกออกแล้วก็ต้องมาพบแพทย์ตามนัดเป็นระยะ เพราะมีบางรายที่เข่ากลับมาโก่งขึ้นอีก

ซึ่งถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จะมีโอกาสดีขึ้นถึงมากถึง 80% แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดค่ะ

7. เท้าแบน เท้าโค้ง

โรคเท้าแบน คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีอุ้งเท้า ถ้ามองจากด้านในของเท้าจะเห็นว่าแบนราบแนบไปกับพื้น

ถ้าเอาสีหรือดินโคลนทาทาแล้วเหยียบบนกระดาษจะได้ภาพของอุ้ง เท้าปกติจะมีรอยเว้า แต่ถ้าเป็นเท้าแบนจะไม่มีรอยเว้า

อีกประเด็นที่สำคัญ คือเรื่องของพัฒนาการตามธรรมชาติของเท้า ในเด็กแรกเกิดจะไม่มีอุ้งเท้า เมื่อเริ่มหัดเดินจึงเริ่มมีอุ้งเท้า และจะพัฒนาจนมีลักษณะคล้ายเท้าผู้ใหญ่เมื่ออายุ 5-6 ขวบ

เท้าแบนจะมี 2 แบบ

1 เท้าแบนแบบยืดหยุ่น
ถ้ายกเท้าขึ้นจากพื้นจะมีอุ้งเท้า แต่เมื่อยืนลง น้ำหนักอุ้งเท้าจะหายไป พบประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป

2 เท้าแบนแบบแข็ง
เท้าจะแบนผิดรูปตลอดเวลา ไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม

สำหรับผู้ที่มีฝาเท้าแบนแบบยืดหยุ่น และไม่มีอาการเจ็บปวดไม่จำเป็นต้องรักษาการใส่อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าตัดรองเท้าแบบพิเศษ หรือทำท่าบริหารไม่ช่วยให้มีอุ้งเท้าสูงขึ้นได้ สรุปว่าถ้าเป็นอุ้งเท้าแบนแบบยืดหยุ่นสามารถดำเนินชีวิตประจำวัน เล่นกีฬาได้เต็มที่เหมือนคนทั่วไปไม่มีข้อจำกัดค่ะ แต่ถ้าเป็นฝ่าเท้าแบนแบบแข็งมีอาการเจ็บเมื่อเดิน หรือวิ่ง หรือมีฝ่าเท้าแบนเพียงข้างเดียวควรพาไปพบแพทย์ค่ะ

วิธีการรักษาเบื้องต้น

1 ให้ควบคุมน้ำหนัก
2 ใช้อุปกรณ์เสริมพื้นรองภายในรองเท้า เช่น เสริมส้นเท้าให้สูงขึ้น 0.5 ถึง 1 cm หรือเสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านใน เป็นต้น แต่ถ้ามีอาการมาก หรือเท้าผิดรูปอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตัดรองเท้าแบบพิเศษเฉพาะตัว
3 ทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อเส้นเอ็นฝ่าเท้า เช่น การฝึกใช้เท้าเก็บสิ่งของ เป็นต้น

 

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคกระดูกเด็กหรือไม่

เนื่องจากคณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด อย่าขู่ลูกว่าหมอจะฉีดยา ถ้าดื้อหรือซน หรือเพราะอะไรก็แล้วแต่ เพราะนั่นเป็นการปลูกฝังให้เด็กกลัวการไปโรงพยาบาล รวมทั้งกลัวคุณหมอด้วย ตั้งแต่ยังไม่รู้ความว่าจริงๆ แล้ว โรงพยาบาลนั้นคือคนช่วยให้เด็กแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับร่างกายของเขาได้ค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ทั้งมือใหม่และมือเก่า ต้องเลิกขู่ลูกๆ หลานๆ กันเถอะค่ะ เพราะถึงเป็นเด็กก็คงไม่ชอบการโดนผู้ใหญ่หลอกนั่นเอง

  • ลูกเดินไม่คล่องแบบแต่ก่อน
  • รูปเท้าเริ่มมีความผิดปกติจากเมื่อตอนเกิด
  • ลูกร้องไห้ และไม่อยากเดินหรือก้าวขา
  • รู้สึกเจ็บเมื่อมีคนจับหรือแตะโดน หากเป็นทารกหรือเด็กเล็กจะร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ
  • สังเกตดูว่าลูกคลานด้วยขาข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า
  • เวลาเดินแล้วขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน หรือขาข้างใดข้างหนึ่งหมุนได้มากกว่าปกติ
Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save