fbpx

โรคเฮอร์แปงไจนา โรคตุ่มแผลในปากเด็ก

Writer : giftoun
: 3 พฤษภาคม 2562

โรคระบาดในไทยมีอยู่หลายโรคด้วยกันที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย หนึ่งในนั้นก็คือโรคเฮอร์แปงไจนาหรือโรคตุ่มแผลในปากเด็กนั่นเองค่ะ แล้วโรคเฮอร์แปงไจนาคืออะไร สาเหตุของโรคนี้จะเกิดจากอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

โรคเฮอร์แปงไจนาคืออะไร

โรคเฮอร์แปงไจน่า เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือโรคเฮอร์แปงไจน่าจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น ขณะที่มือ เท้า ปาก นอกจากจะมีแผลที่ปากแล้วจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเฮอร์แปงไจนา

  • Herpangina เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus Infection) ชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ เอนเทอโรไวรัส 71 ไวรัสคอกซากี (Coxsackie) ไวรัสกลุ่ม A ชนิด 1-10, 12, 16 และ 22 ซึ่งเป็นไวรัสติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • ไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางปาก ระบบทางเดินหายใจ ทางน้ำสะอาด รวมถึงวัตถุที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ผ้าขนหนู แก้วน้ำ และของเล่น เป็นต้น
  • ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หากต้องพบเจอ ใกล้ชิดกับผู้ป่วย Herpangina หรือต้องอยู่ในสถานที่ที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรงเรียน ค่ายกิจกรรม และสถานที่เลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่มีความเสี่ยงเกิดโรคสูง อย่างช่วงฤดูร้อนไปจนถึงต้นฤดูฝน

อาการของโรคเฮอร์แปงไจนา

  • มีไข้เฉียบพลันหรือมีไข้สูงกว่า 38.5-40 องศาเซลเซียส
  • เจ็บบริเวณเพดานปากและคอ
  • เจ็บคอ เจ็บปวดขณะกลืนอาหาร
  • มีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่
  • มีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้
  • ปวดหัว ปวดคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองในคอบวมโต
  • น้ำลายไหลยืด (ในเด็กทารก)
  • อาเจียน (ในเด็กทารก)
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร

วิธีรักษาหากเกิดโรคเฮอร์แปงไจนา

  • ควรงดไปโรงเรียน 1 สัปดาห์
  • รักษาตามอาการ ได้แก่ เช็ดตัวเพื่อช่วยลดไข้ ให้ยาพาราเซตามอล
  • ทายาเพื่อรักษาแผลในปากและบรรเทาอาการเจ็บ
  • ไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส หรือยาต้านจุลชีพ (ยาปฏิชีวนะ) ยกเว้นในรายการที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะนมเย็น น้ำเย็น หรือกินไอศกรีม เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ทดแทนของเหลวที่เสียไปจากการมีไข้
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มร้อน และผลไม้ตระกูลส้ม เพราะอาจทำให้เจ็บแผลในปากและคอมากขึ้น
  • ที่เหลือเด็กสามารถทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนเป็นมาก ไม่ยอมทานไม่ยอมกลืนอาหาร ควรหาของอ่อนๆ ให้เด็กทาน
  • ถ้าหากเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ หายใจหอบ ชัก ไข้ไม่ลง 3 วัน และซึมลง ควรรีบพบแพทย์

วิธีป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา

  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา
  • ล้างมือให้สะอาด
  • ระวังการสัมผัส น้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กที่เป็นโรค ซึ่งรวมทั้งของเล่นด้วย
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
  • ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด หรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การรักษาความสะอาดถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรสอดส่องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดค่ะ

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
27 กรกฏาคม 2560
5 ข้อควรรู้ก่อนพาลูกน้อยไปว่ายน้ำ
ข้อมูลทางแพทย์
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save