fbpx

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกแพ้นมวัว?

Writer : nunzmoko
: 11 กันยายน 2560

โรคแพ้นมวัว เป็นกลุ่มอาการแพ้อาหารอย่างหนึ่งซึ่งต่อต้านโปรตีนในนมวัว พบได้บ่อยที่สุดในเด็กวัยสองขวบปีแรก ที่พบบ่อยในเด็กเล็กก็เพราะนมถือเป็นอาหารหลักของเด็กช่วงวัยนี้นั่นเอง หากลูกน้อยมีอาการใดอาการหนึ่งที่คาดว่าแพ้โปรตีนนมวัว คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีต่อไปค่ะ

สาเหตุของการแพ้โปรตีนนมวัว

  • พันธุกรรมเป็นส่วนสำคัญ ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ลูกก็มีโอกาสจะเป็นภูมิแพ้หรือแพ้นมวัวสูง
  • ช่วงคุณแม่ตั้งท้องดื่มนมวัว หรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป ทำให้กระตุ้นภูมิแพ้ขึ้นได้
  • ได้รับอาหารเสริมเร็วเกินไป ในช่วงที่ระบบทางเดินอาหารลูกไม่แข็งแรง หรือทารกก่อนช่วงอายุ 6 เดือน ซึ่งหากได้รับโปรตีนแปลกปลอมก็อาจจะหลุดหลอดเข้าไปในระบบย่อยอาหารและกระตุ้นให้แพ้ได้

ลักษณะอาการของเด็กที่แพ้นมวัว

มีผื่นแพ้

ส่วนใหญ่มักขึ้นเป็นเม็ดเล็กๆ บริเวณใบหน้า ศีรษะ หน้าผาก หรือบางคนอาจมีผื่นขึ้นที่ด้านนอกแขน ข้อศอก ข้อมือ รวมถึงขึ้นตามลําตัว  ซึ่งลูกอาจเป็นไม่นาน แล้วก็หายแล้วกลับมาเป็นใหม่ได้

ถ่ายเป็นมูกเลือด

การแพ้โปรตีนนมวัว ไม่ได้ออกผื่นอย่างเดียว อาจมีอาการท้องเสียหรือถ่ายเป็นมูกเลือดในกรณีที่เด็กแพ้มาก

แหวะหรืออาเจียน

แหวะหรืออาเจียนทุกครั้งหลังดื่มนม

น้ำมูกไหลเรื้อรัง

ในตอนแรกคุณพ่อคุณแม่อาจเข้าใจว่าลูกแพ้อากาศหรือเป็นหวัดธรรมดา แต่หากสังเกตเห็นว่าลูกมีน้ำมูกไหลเรื้อรัง อาจเป็นอีกอาการหนึ่งของการแพ้โปรตีนนมวัวค่ะ

ร้องงอแงผิดปกติ

ลูกร้องไห้งอแงผิดปกติหลังกินนม ก็เป็นข้อบ่งชี้อาการที่ต้องสงสัยไว้ก่อน เพราะอาจเป็นไปได้ว่าลูกมีอาการปวดท้องหรือไม่สบาย

มีอาการหอบ 

มีอาการหอบ หายใจเร็ว หน้าอกกระเพื่อม เวลาหายใจมีเสียงวี๊ดๆ ซึ่งเกิดจากหลอดลมตีบ เมื่อเด็กหายใจเข้าออกได้ไม่สะดวกก็จะพยายามหายใจให้เร็วขึ้นทำให้เกิดเสียงเวลาหายใจได้ อาการเหล่านี้ถือเป็นอาการทางระบบทางเดินหายใจของเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัว คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

 

นอกจากนี้ คุณแม่ที่ต้องให้นมลูกที่แพ้นมวัวต้องระมัดระวังการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมทุกประเภท เพราะโปรตีนจากนมวัวสามารถไปสู่ลูกได้ผ่านน้ำนมแม่ ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกทานอาหารประเภทอื่นเพื่อทดแทนสารอาหารที่มาจากนมวัว (สารอาหารที่ได้จากนมวัว เช่น แคลเซียม วิตามินดี และวิตามินบี 2) เช่น ผักที่มีแคลเซียมสูงอย่างบล็อคโคลี่ ผลไม้ งาดำ เป็นต้น

 

ที่มา – enfababy

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ควรให้ลูกนอนวันละกี่ชั่วโมง?
ชีวิตครอบครัว
CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
ทำอย่างไรเมื่อลูกรัก “ติดจอ”
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save