fbpx

ลูกขี้น้อยใจ พ่อแม่จะทำยังไงดี

Writer : Jicko
: 19 ธันวาคม 2562

เรื่องน้อยใจ ไม่ว่าใครก็เป็นกันทั้งนั้น แม้กระทั่งเจ้าตัวเล็กเอง เมื่อเขาเริ่มโตขึ้น เด็กๆ ก็มักจะแสดงออกทางด้านอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น ซึ่งบางเรื่องก็เกิดจากคุณพ่อคุณแม่เอง ที่บางครั้งก็ขัดใจลูกบ้าง สอนเขาหรือตำหนิเขาบ้าง จนทำให้ลูกเกิดความน้อยใจขึ้นมานั้นเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ แต่หากมองถึงอนาคตนั้นพฤติกรรมขี้น้อยใจนี้อาจจะส่งผลเสียต่อลูกได้เหมือนกันนะคะ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีรับมือยังไงบ้างล่ะ ไปดูกันเลย

แบบไหนที่เรียกว่าน้อยใจ

  • ชอบเก็บตัว
  • โกรธง่าย
  • ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น
  • อ่อนไหวง่าย
  • ร้องไห้เก่ง

 

พ่อแม่จะต้องทำยังไง เมื่อรู้สึกว่าลูก ” น้อยใจ “

  • ใช้เหตุผล และอธิบาย ให้ลูกเข้าใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยหรือถามกับสิ่งที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ ว่าทำไมลูกถึงน้อยใจ ส่วนคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องบอกกับลูกว่าเหตุผลอะไร เราถึงตำหนิ หรือดุว่าเขา แล้วค่อยๆ ให้ลูกใจเย็นและผ่อนคลาย และเราเองก็ต้องปรับวิธีการเลี้ยงดูลูกใหม่ โดยการใช้เหตุผลแบบนี้นี่แหละและใช้อย่างสม่ำเสมอ แถมเป็นการได้พูดคุยและเข้าใจลูกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

  • สอนให้ลูกเข้าใจถึงอารมณ์ของตัวเอง

การเมินเฉย หรือไม่สนใจลูก เมื่อลูกมีอารมณ์น้อยใจ เหมือนยิ่งทำให้ลูกน้อยใจเข้าไปกันใหญ่ เขาจะคิดว่าเราไม่สนใจเขาแล้วหรือไม่รักเขาแล้ว สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำก็คือ การสอนให้ลูกเข้าใจถึงอารมณ์ของตัวเอง และสอนเขาให้เขาบอกให้ได้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไร เช่น โมโห ไม่ชอบ เสียใจ น้อยใจ เป็นต้น เมื่อเขาสามารถบอกความรู้สึกได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ไปพูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และเขาก็จะเริ่มเปิดใจ ส่วนเราแค่พยายามเข้าใจเขาเท่านั้นเอง

 

  • ให้ลูกเข้าใจความผิดหวังบ้าง

เพราะทุกสิ่งไม่ได้ดีสมหวังเสมอไป คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนเขา ให้เขาเข้าใจและพบเจอกับความผิดหวังบ้าง เหมือนเป็นเกราะป้องกัน เมื่อมีความผิดหวังเข้ามา อย่างเช่น ลูกได้คะแนนน้อยกว่าเพื่อน แล้วลูกก็น้อยใจที่ทุกคนต่างก็ชมเพื่อนที่ได้คะแนนเยอะกว่า สิ่งนี้เราเองที่ควรจะเป็นคนสอนให้ลูกเข้าใจความผิดหวัง เราสามารถสอนลูกให้เข้าใจถึงธรรมชาติ ที่ต้องมีการผิดหวังและสมหวังเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนก็ต้องพบต้องเจอ เมื่อลูกเข้าใจแล้ว เมื่อมีเรื่องที่ผิดหวังขึ้นมา เขาก็อาจจะมีน้อยใจบ้างแต่ก็อาจจะเข้าใจมากขึ้นนั้นเอง

 

  • พาลูกไปทำกิจกรรมแบบแฮปปี้ๆ

การพาลูกไปทำกิจกรรม เหมือนเป็นการช่วยให้ลูกได้ปลดปล่อยและอารมณ์ดีขึ้นได้ เขาจะได้เจอกับเพื่อนๆ คนใหม่ เจอสิ่งที่อยากทำ ได้หัวเราะกับเพื่อนๆ และได้เล่นสนุกๆ ด้วยกัน พอลูกอารมณ์ดี คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถพูดคุยกับเขาได้ด้วยเหตุผล และลูกก็จะเริ่มเปิดใจและพร้อมรับฟังเรามากขึ้นได้

 

  • ลองให้ความสนใจลูกมากขึ้น

การให้ความสนใจในที่นี้ ก็คือการให้ความสนใจที่ไม่มากจนเกินไป จนกลายเป็นการตามใจลูก เพราะเด็กๆ มักจะน้อยใจและพยายามเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่เสมอ เราจะพยายามให้ความสนใจลูกมากขึ้นได้ เช่น ชมเชยลูก พาลูกไปเที่ยว ซื้อของเป็นรางวัลเล็กๆ น้อย เป็นต้น หรือเมื่อลูกกำลังบอกหรือคุยกับพ่อแม่อยู่ แล้วเราขัดจังหวะเมื่อเขากำลังเล่าเรื่องราว ลูกก็จะรู้สึกน้อยใจที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ตั้งใจฟังเขา ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งของการให้ความสนใจก็คือควรรอและตั้งใจฟัง ไม่ควรขัดจังหวะเวลาลูกพูด เพราะการให้ความสนใจลูกในสิ่งที่ดีๆ ในแง่บวกจะช่วยลดพฤติกรรมน้อยใจของเด็กๆ ได้

 

  • หากมากเกินไป ควรจำกัดขอบเขตพฤติกรรม

เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่า ลูกมีพฤติกรรมขี้น้อยใจที่มากเกินไป เราควรจะมีกฎหรือข้อบังคับ และจำกัดขอบเขตที่ชัดเจน อาจจะเป็นด้วยการใช้สัญญาณทางร่างกาย เช่น เมื่อเริ่มรู้สึกว่าลูกไม่ควรทำพฤติกรรมแบบนี้ เราอาจจะใช้สายตา หรือมือ ที่เป็นสัญญาณ หากลูกยังทำอยู่อาจจะมีบทลงโทษเล็กๆ น้อยๆ และสอนให้เขาถึงพฤติกรรมที่ผิดและบอกวิธีที่ถูกต้องให้ลูกได้เข้าใจ

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
24 ธันวาคม 2562
เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save