fbpx

ผื่นกุหลาบในเด็ก โรคผื่นแพ้ยอดฮิตที่ลูกชอบเป็นตอนฤดูฝน

Writer : Mneeose
: 16 กรกฏาคม 2563

เคยสังเกตไหมว่า ลูกเราเคยมีผื่นแดงอมชมพูขึ้นตรงผิวหนังบ้างหรือไม่? บางครั้งผื่นแดงก็ขึ้นรอบตัวจนน่ากลัว แถมมีอาการคัน ระคายเคืองผิว และมีไข้ผสมกันไปด้วย เราไปทำความรู้จักแบบล้วงลึกเกี่ยวกับ “โรคผื่นกุหลาบ” โรคผื่นแพ้ยอดฮิตที่ลูกชอบเป็นตอนฤดูฝนกันดีกว่าค่ะ

“ผื่นกุหลาบ” คือโรคอะไร?

“ผื่นกุหลาบ” (Pityriasis Rosea หรือ PR) หรือ “ส่าไข้” ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการเป็นผื่นเฉียบพลัน แต่ไม่อันตราย และไม่ทำให้เสียชีวิต

แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะโรคนี้สามารถหายเองได้ แต่เด็กบางคนอาจนานประมาณ 3 – 4 เดือน ทำให้โรคนี้มีอีกชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โรคผื่นร้อยวัน” และเมื่อเป็นแล้ว มักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

ซึ่งเชื้อไวรัสนี้พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และยิ่งพบได้มากในเด็กเล็กๆ เคยมีรายงานว่าเคยพบโรคนี้ในทารกที่อายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น ผื่นกุหลาบจึงเป็นโรคที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในฤดูฝน เพราะมักจะมีการระบาดมากกว่าปกติค่ะ

อาการของโรค “ผื่นกุหลาบ”

  • ลูกอาจมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน หลังจากนั้นจะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง

ผื่นมีลักษณะเป็นวงรี หรือวงกลมรูปไข่ ส่วนมากจะเป็นสีชมพูอมแดง, สีชมพู หรือสีส้ม ซึ่งคล้ายกับสีของดอกกุหลาบนั่นเอง ตรงกลางของผื่นจะมีลักษณะย่น มักจะขึ้นตามตัว แล้วค่อยกระจายเป็นรูปต้นสนลามไปทั่วผิวหนัง จากนั้นก็จะหายเอง

โรคนี้พบได้มากในทารกและเด็กเล็ก แต่ที่น่ากลัว คือ เด็กอาจจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ทั้งๆ ที่เด็กยังมีอาการเป็นปกติทุกอย่าง ทำให้คุณพ่อคุณแม่ส่วนมากไม่ทันระวังจนไข้ขึ้นสูง และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้

 

สาเหตุของโรค “ผื่นกุหลาบ”

โรคผื่นกุหลาบ มักเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น

  • เกิดจากเชื้อไวัส HHV-6 และ HHV-7 ที่อยู่ในน้ำลาย และเสมหะ

ซึ่งแพร่กระจายได้โดยการไอ จาม และการสัมผัสทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น เล่นตบแปะกัน หรือจะเล่นของเล่นที่มีเชื้อไวรัสอยู่ แล้วเอามือมาขยี้ตา แคะจมูก หรือเอาเข้าปากก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

  • ของใช้เด็กไม่สะอาด

ของใช้ รวมทั้งของเล่นเด็ก มักจะมีเชื้อโรคและเชื้อไวรัส ซึ่งอาจจะมาจากน้ำลายของเด็กที่ชอบกัดสิ่งของ แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทำความสะอาดให้ดีหลังลูกเล่นเสร็จ ทำให้เกิดจากสะสมของเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่างๆ ทำให้เกิดดเป็น “ผื่นกุหลาบ” ได้

  • ไม่ได้แยกของใช้สำหรับเด็กอ่อน และผู้ใหญ่ออกจากกัน 

เช่น แก้วน้ำ, ช้อนซ้อม, เสื้อผ้า เป็นต้น

 

การรักษา โรค “ผื่นกุหลาบ”

  • ห้ามกินยาแอสไพริน

หากลูกมีอาการปวดหัว หรือเป็นไข้ ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว แล้วทานยาพาราเซตามอลแทน แต่ห้ามให้ลูกกินยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด

  • นอนหลับให้เพียงพอ

พาลูกนอนหลับให้เพียงพอ จะได้ไม่เกิดความเครียด เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซม และฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์

  • ทาแป้ง ป้องกันอาการคัน

เมื่อลูกเกิดอาการระคายเคืองผิว หรือมีอาการคันที่ผื่นเล็กน้อย ไม่ควรให้ลูกเกา เพราะอาจเกิดรอยแผลได้ ควรให้ลูกทาแป้งมากกว่า

  • ไม่อาบน้ำอุ่นให้ลูกน้อย

เพราะอาจเป็นการกระตุ้นผื่นให้เกิดขึ้นมาอีกมากกว่าเดิมได้

 

วิธีป้องกัน หากไม่อยากเป็น “ผื่นกุหลาบ”

  • ห้ามใช้ของร่วมกัน

ถ้ามีคนในบ้านเป็นผื่นกุหลาบ ควรแยกของใช้ทุกชนิด ไม่ให้ใช้ของด้วยกัน

  • แยกผู้ป่วยให้ออกห่างจากเด็ก

เช่น ไม่ให้เด็กทานอาหารอาหารร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคผื่นกุหลาบเด็ดขาด เป็นต้น

  • ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย

การพาลูกล้างมือบ่อยๆ ไม่เอามือเข้าปาก รวมทั้งไม่ไปแคะจมูก หรือขยี้ตา จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากโรค “ผื่นกุหลาบ” ได้มาก

  • ใช้ของที่ไม่ระคายเคืองผิวลูกน้อย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับโรคผื่นกุหลาบที่ลูกๆ อาจจะเคยเป็นกันมาก่อน แต่เรานึกว่าเป็นแค่ผื่นคันธรรมดา เพราะมันสามารถหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา และต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดทั้งร่างกาย และข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งของเล่นที่ลูกมักจะชอบเอาเข้าปากอยู่เสมอด้วย เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดโรคผื่นกุหลาบได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง 

www.mamaexpert.com
www.care.co.th
www.reiscare.com
www.bangpakokhospital.com

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save