fbpx

แนะนำผลิตภัณฑ์อนามัยทางเลือกสำหรับคุณแม่และลูกสาววัยใส

: 21 สิงหาคม 2563

ประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงอย่างเราจะต้องพบเจอ เป็นกลไกธรรมชาติที่คงสมดุลระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการดูแลตัวเองในวันนั้นของเดือนก็มีภาระค่าใช้จ่ายท่ีเพิ่มขึ้นมาทุกๆ เดือนด้วยเช่นกัน คุณแม่อาจจะเคยได้ยินคำว่าภาษีผ้าอนามัยมาบ้าง รู้ไหมคะว่าผู้หญิงอย่างเราๆ นั้นต้องเสียค่าผ้าอนามัยเฉลี่ยเดือนละ 400 บาทเลยทีเดียว อาจฟังดูไม่มาก แต่บวกทบกันไปเป็นปีๆ ก็ดูฟุ่มเฟือยเหมือนกัน

นอกเหนือจากเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ผลิตภัณฑ์อนามัยใช้แล้วทิ้งนั้นก็สร้างขยะจำนวนมากบนโลกไม่แพ้ถุงพลาสติกหรือหลอดเช่นกัน ในเวลาปีหนึ่งมีขยะผ้าอนามัยเยอะถึง 12,000 ล้านแผ่น อีกทั้งยังใช้เวลาย่อยสลายอีกถึง 450 ปี กลายเป็นปัญหาขยะสะสมไม่จบไม่สิ้นเสียที ทั้งนี้แล้วยังมีเรื่องสุขภาพที่เข้ามาเกี่ยวโยงกับผลิตภัณฑ์อนามัยใช้แล้วทิ้งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผิวหนังระคายเคืองจากผ้าอนามัยแบบแผ่น หรือเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อหากใช้ติดต่อกันนานๆ และอาการ TSS (Toxic Shock Syndrome) ที่มาจากสารฟอกขาวในผลิตภัณฑ์อนามัยใช้แล้วทิ้งต่างๆ

คุณแม่อาจจะมีคำถามว่า แล้วควรเราจะทำยังไงบ้างล่ะ วันนี้ ParentsOne เลยอยากมาแนะนำผลิตภัณฑ์อนามัยทางเลือก ใช้ซ้ำได้ ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้คุณแม่และคุณลูกสาววัยใสมาเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมให้ดูกันค่ะ จะมีอะไรกันบ้าง เราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

 

ผลิตภัณฑ์อนามัยใช้ซ้ำมีอะไรบ้าง?

ก่อนอื่นเลยเรามาแนะนำกันก่อนว่าในโลกของ reusable menstrual products หรือผลิตภัณฑ์อนามัยใช้ซ้ำได้มีอะไรกันบ้าง ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายที่เจาะจงให้กับสภาพร่างกาย ปริมาณมามากน้อย และช่วงวัยที่แตกต่างให้ผู้หญิงได้เลือกใช้ในสิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายของตัวเองได้ ซึ่งแยกเป็นหมวดหลักๆ แล้วมีดังนี้ค่ะ

ผ้าอนามัยใช้ซ้ำ
ผ้าอนามัยใช้ซ้ำได้ที่ผลิตจากผ้าที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้อย่างเช่นผ้าฝ้าย ใยกัญชง ใยไผ่ หรือใยสังเคราะห์อย่างไมโครไฟเบอร์ ใช้งานได้เหมือนผ้าอนามัยทั่วไป มีหลายขนาดและการซึมซับที่ต่างกันเพื่อรองรับปริมาณมากน้อยในรอบเดือนของแต่ละคน

ถ้วยอนามัย
ถ้วยอนามัยผลิตมาเพื่อรองรับเลือดจากภายในแทนการซึมซับอย่างผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอด ผลิตจากซิลิโคนทางการแพทย์ มีหลายขนาดและหลายรูปร่างเพื่อรองรับปริมาณเลือดและสรีระร่างกายที่แตกต่างกัน

กางเกงในซับประจำเดือน
กางเกงในที่ผลิตมาเพื่อซับประจำเดือนโดยเฉพาะ สามารถใส่ได้อย่างเดียวโดยไม่ต้องใส่ผ้าอนามัย หรือใส่คู่กับถ้วยอนามัยเพื่อป้องกันการรั่วไหล มาในหลายรูปทรงและชนิดผ้าที่เหมาะกับสรีระหลายรูปแบบ

ซึ่งแต่ละแบบนั้นสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะสะดวกใช้รูปแบบใดแบบหนึ่งมากกว่า เราไปดูกันค่ะว่าผลิตภัณฑ์อนามัยใช้ซ้ำได้แต่ละชนิดเหมาะกับใคร และควรดูแลอย่างไรบ้าง

 

ผ้าอนามัยใช้ซ้ำ

ผ้าอนามัยใช้ซ้ำอาจเป็นผลิตภัณฑ์อนามัยทางเลือกที่เปลี่ยนได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องใช้เวลาเรียนรู้และปรับตัวมากเท่าถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยใช้ซ้ำนั้นมาพร้อมกับกระดุมแป๊กที่ปีกแทนกาวที่ติดบนกางเกงใน มาพร้อมกับหลายขนาดตั้งแต่แบบกลางวัน กลางคืน ไปจนถึงขนาดแผ่นอนามัย และยังมีสีสันลวดลายอีกเยอะแยะให้เลือกใช้ได้ค่ะ

ข้อดี

  • ประหยัดเงินกว่าในระยะยาว
  • ปรับใช้ได้ง่าย
  • ใช้ได้นานอย่างน้อย 5 ปี
  • นุ่มสบาย ไม่อับชื้น ไม่ระคายเคืองเหมือนผ้าอนามัยใช้แล้วทิ้ง
  • มีสีสันและลวดลายน่ารักให้เลือกใช้
  • สามารถทำเองได้

 

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสูง
  • ยุ่งยากเล็กน้อยหากเทียบกับแบบใช้แล้วทิ้ง ต้องซักให้สะอาดหลังใช้งาน และตากให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้อีกครั้ง
  • ไม่เหมาะกับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่น้ำสะอาดหาใช้ได้ยาก

 

เหมาะกับใคร?

  • ใช้ง่าย เหมาะกับทุกวัยและคนเริ่มอยากลองใช้ผลิตภัณฑ์อนามัยใช้ซ้ำ
  • คนที่มีปัญหาผื่น ระคายเคือง มีอาการแพ้วัสดุหรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์อนามัยใช้แล้วทิ้ง
  • คนที่รอบเดือนมาไม่ปกติ มีประจำเดือนมาหลายวัน
  • ใส่สำหรับป้องกันในวันก่อนหรือหลังรอบเดือน
  • คุณแม่เพิ่งคลอด เพราะซึมซับได้ดีและไม่ระคายเคือง

 

ผ้าอนามัยใช้ซ้ำ: เริ่มใช้ยังไงดี?

ด้วยผ้าอนามัยใช้ซ้ำนั้นมีราคาขายค่อนข้างแพงและปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีร้านผลิตมากนัก ทำให้การซื้อเป็นการลงทุนสักหน่อย และควรคำนึงถึงปริมาณของรอบเดือนที่เรามี ความบ่อยในการเปลี่ยนผ้าอนามัย กับเวลาซักที่ต้องใช้ เพราะจะส่งผลต่อจำนวนที่ต้องใช้ด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำปริมาณดังนี้ค่ะ:

10 – 15 แผ่นสำหรับรอบเดือนมาน้อย
30 – 40 แผ่นสำหรับรอบเดือนมามาก
แต่สำหรับผู้เริ่มใช้ ก็สามารถซื้อมาทดลองใช้สลับกับผ้าอนามัยใช้แล้วทิ้งก่อน โดยค่อยๆ ซื้อเก็บทีละน้อย ลองเริ่มใช้ก่อนที่บ้านในวันหยุดหรือตอนกลางคืน ถ้ามั่นใจแล้วว่าเหมาะกับรอบเดือนของตัวเองแล้ว ค่อยปรับใช้มากขึ้นตามจำนวนที่เรามีค่ะ

หากเปลี่ยนข้างนอก ควรพกกระเป๋าหรือถุงใส่ผ้าแห้งและผ้าเปียกไปด้วย เพื่อใส่ผ้าอนามัยใช้แล้วเพื่อเก็บนำไปซักค่ะ ก่อนซักให้ถูสบู่ก้อนไว้ที่คราบเลือดก่อนแช่น้ำเย็นไว้อย่างน้อย 40 นาที สามารถซักมือโดยใช้สบู่ก้อนซักผ้าหรือน้ำยาซักผ้าสูตรอ่อนโยน หรือซักเครื่องก็ได้ ถ้ากังวลเรื่องคราบเลือดก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดคราบช่วยซักเพิ่มเติม แล้วค่อยตากให้แห้งสนิท แต่มีข้อควรระวังว่าห้ามซักด้วยน้ำร้อน เพราะคราบจะติดฝังลึก และห้ามใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มค่ะ

 

 

ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัยนั้นออกแบบมาเพื่อรองรับเลือดจากภายในช่องคลอดแทนการซึมซับอย่างผ้าอนามัยแบบสอด ถ้วยอนามัยส่วนมากนั้นมาในสองขนาด ขนาดเล็กสำหรับผู้ที่ยังไม่มีบุตร วัยรุ่นหรือประจำเดือนมาน้อย และขนาดใหญ่สำหรับผู้ที่มีบุตรแล้วหรือประจำเดือนมามาก แต่ยังมีอีกหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับสรีระหรือตำแหน่งปากมดลูกด้วยค่ะ

ข้อดี

  • ประหยัดเงินกว่าในระยะยาว
  • รองรับเลือดได้มากกว่าผลิตภัณฑ์อนามัยแบบอื่น เฉลี่ยที่ 20 มิลลิลิตรขึ้นไป
  • ใส่ได้นานถึง 12 โดยไม่ต้องเปลี่ยน
  • ใช้ได้นานถึง 10 ปี
  • คงความชุ่มชื้นของช่องคลอด ลดการเสียดสี
  • ไม่มีกลิ่นเลือด เพราะเลือดไม่โดนอากาศ
  • สามารถใส่เล่นกีฬา ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือว่ายน้ำได้ และบางรุ่นสามารถใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • หากใส่ถูกวิธีจะไม่รู้สึกอะไรเลย

 

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าค่อนข้างสูง
  • ใช้เวลาเรียนรู้นาน อาจมีปัญหาในการสอดใส่หรือนำออก
  • การนำถ้วยออกอาจเลอะสักหน่อย ไม่เหมาะกับคนที่กลัวเลือด
  • อาจต้องทดลองใช้หลายรุ่นจนกว่าจะเจอถ้วยอนามัยที่เหมาะกับสรีระตนเอง

 

เหมาะกับใคร?

  • สามารถใช้ได้ทุกวัยตั้งแต่วัยรุ่น แต่ต้องเลือกขนาดที่เหมาะกับร่างกาย
  • คนที่ต้องการอิสระในวันนั้นของเดือน
  • คนที่ชอบออกกำลังกาย เล่นกีฬา
  • คนที่คุ้นชินกับการใส่ผ้าอนามัยแบบสอด
  • คนที่ประจำเดือนมามาก และผ้าอนามัยแบบแผ่นไม่สามารถรองรับได้

 

ถ้วยอนามัย: เริ่มใช้ยังไงดี?

ด้วยวิธีการใช้ที่ต้องนำถ้วยอนามัยเข้าร่างกายนั้น อาจทำให้เป็นกังวลสักหน่อยหากไม่เคยใช้ผ้าอนามัยแบบสอดมาก่อน แต่ถ้วยอนามัยนั้นสามารถใช้ได้แม้ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ค่ะ เพียงแค่ต้องหาวิธีพับถ้วยที่เหมาะกับสรีระตนเอง และควรใช้น้ำหรือเจลหล่อลื่นสูตรน้ำทาบาง ๆ บริเวณปากถ้วยเพื่อป้องกันความไม่สบายขณะสอดใส่ แต่เนื่องด้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใส่เข้าไปในร่างกาย ควรดูแลความสะอาดให้ดี ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่อ่อนทุกครั้งที่เปลี่ยน และควรต้ม/นึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนและหลังรอบเดือนด้วยนะคะ

หากต้องเทรอบเดือนทิ้งในห้องน้ำสาธารณะ แนะนำให้พกทิชชู่เปียก (สูตรอ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม) หรือพกขวดน้ำไว้ล้างระหว่างเปลี่ยนทุกครั้งค่ะ

การใช้ถ้วยอนามัยนั้นอาจต้องใช้เวลาเรียนรู้ตัวผลิตภัณฑ์และร่างกายของเราสักหน่อย อย่ากังวลหากครั้งแรกใช้ไม่ได้ผล หรือมีข้อผิดพลาดบ้าง ให้เวลากับร่างกายของเราได้ปรับตัว และถ้าหากถ้วยอนามัยไม่ใช่ทางเลือกของเราจริงๆ ก็ไม่เป็นไรค่ะ ร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน เป็นธรรมดาที่ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะไม่เหมาะกับเราค่ะ

 

กางเกงในซับประจำเดือน

กางเกงในซับประจำเดือนนั้นรวมคุณสมบัติของผ้าอนามัยใช้ซ้ำกับกางเกงในเข้าด้วยกัน ผลิตด้วยวัสดุที่ซึมซับได้ดี ระบายอากาศได้ บางยี่ห้อผลิตด้วยวัสดุป้องกันแบคทีเรีย โดยทั้งตัวกางเกงในนั้นนับเป็นผ้าอนามัยเลยก็ว่าได้ สามารถใส่กางเกงในซับประจำเดือนโดยไม่ต้องใส่ผ้าอนามัยได้เลย ซึ่งกางเกงในซับประจำเดือนนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทรงกางเกงไปจนถึงปริมาณในการซึมซับเลือด เหมาะกับทุกวันในรอบเดือน

ข้อดี

  • ประหยัดเงินกว่าในระยะยาว
  • ปรับใช้ได้ง่าย
  • ใส่สบายเหมือนกางเกงในปกติทั่วไป
  • ป้องกันรอบด้าน ไม่ต้องห่วงเรื่องผ้าอนามัยเคลื่อนตัว

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสูงมาก ราคาแพง
  • ไม่เหมาะกับคนมีรอบเดือนมาก หากไม่เปลี่ยนระหว่างวันหรือใส่ผ้าอนามัยช่วยอาจมีการซึมเปื้อน
  • วิธีดูแลซับซ้อนกว่ากางเกงในปกติ ควรซักทันทีหลังใช้และทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  • ใช้เวลาตากแห้งนาน
  • เปลี่ยนระหว่างวันลำบาก
  • ปัจจุบันมีแค่ผู้ผลิตจากต่างประเทศ ยังหาซื้อได้ยากในประเทศไทย

เหมาะกับใคร?

  • คนที่ประจำเดือนมาน้อยปานกลาง
  • คนที่ต้องการความสบายตัวในวันนั้นของเดือน
  • ใส่เพื่อป้องกันการซึมเปื้อนจากผ้าอนามัยหรือถ้วยอนามัยแทนแผ่นอนามัย
  • ใส่สำหรับป้องกันในวันก่อนหรือหลังรอบเดือน

 

กางเกงในซับประจำเดือน: เริ่มใช้ยังไงดี?

ปกติแล้วกางเกงในประจำเดือนมีราคาแพงมาก ซื้อมาใช้เลยทีเดียวอาจจะทำร้ายกระเป๋าเงินสักหน่อย แนะนำให้ค่อยๆ เริ่มลงทุนจะดีกว่าค่ะ ซื้อมาลองใช้ดูว่าเหมาะกับร่างกายเราไหม รอบเดือนเรามาในปริมาณที่กางเกงในซับประจำเดือนซับได้ดี โดยเฉลี่ยแล้วใส่วันละคู่ สำหรับกลางวันและกลางคืน แต่อาจมากขึ้นถ้าเป็นคนรอบเดือนมามากค่ะ หากต้องเปลี่ยนระหว่างวัน แนะนำให้พกกระเป๋าผ้าแห้งและผ้าเปียกสำหรับใส่กางเกงในสะอาดและกางเกงในใช้แล้วแยกกัน เพื่อนำไปซักต่อได้ค่ะ

การดูแลกางเกงในซับประจำเดือนนั้นเหมือนกับผ้าอนามัยใช้ซ้ำ โดยสามารถซักมือหรือซักเครื่องก็ได้ เพียงแค่ห้ามซักด้วยน้ำร้อนกับใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มค่ะ

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save