fbpx

คุณแม่ห้ามท้อ!!! 9 กลยุทธ์ปรับตัวสำหรับคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น แก้เท่าไหร่ก็ยังไม่หายสักที

Writer : Mneeose
: 3 พฤษภาคม 2562

หากลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือที่เรียกว่า ADHD คุณพ่อคุณแม่ก็คงเป็นกังวล และเป็นห่วงลูก จนต้องรีบพาลูกไปรักษา และได้ยามาทานกันถูกแล้วใช่ไหมคะ แต่ถ้าหากว่าลูกรักกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย แถมยังทำนิสัยเดิมๆ อยู่ คุณแม่อย่างเราก็อดห่วงไม่ได้จนบางครั้งอาจเกิดอาการเครียด และยอมแพ้ในการรักษาโรคของลูกไปโดยปริยาย

แต่ Parents One เราไม่ยอมให้คุณแม่ยอมแพ้ง่ายๆ ค่ะ ไปดู 9 กลยุทธ์ปรับตัวสำหรับคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นกันเลยดีกว่าว่าจะรับมือกับปัญหาโลกแตกนี้ได้อย่างไรบ้าง?

1. ห้ามยอมแพ้ในการรักษาลูกให้หายเด็ดขาด

คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคสมาธิสั้นต้องใช้เวลานานในการรักษาให้หายขาด ดังนั้นเราไม่อนุญาตให้คุณยอมแพ้ง่ายๆ ค่ะ แม้ว่าลูกเรานั้นจะดื้อรั้น หรือมีอาการที่ไม่ค่อยดีขึ้นอย่างไร รวมถึงบางครั้งอาจจะทำไม่ถูกใจเราบ้าง แต่ถ้าเราสามารถทำให้เขาหายจากโรคนี้ได้ ก็ถือว่าคุ้มสุดๆ เลยค่ะ

2. ห้ามเครียดเกินไป ให้ออกกำลังกาย และพักผ่อนบ้าง

หากคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเครียดจนเกินไป เราขอแนะนำให้ลองหากิจกรรมอื่นๆ ลองทำดูก่อน เช่น ให้ออกกำลังกาย และนอนพักผ่อนบ้าง

3. ทำตารางกิจวัตรประจำวันให้ลูกช่วยพ่อแม่ทำงาน

คุณพ่อคุณแม่ควรทำตารางกิจวัตรประจำวันว่าวันนี้ลูกควรทำอะไรบ้าง แบบคร่าวๆ เพื่อให้ลูกได้รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่ หรือเป้าหมายอะไรบ้างที่ต้องทำในวันนี้ค่ะ ที่สำคัญคือ เป็นการฝึกนิสัยลูกให้มีความรับผิดชอบ และมีน้ำใจช่วยเหลืองานบ้านของครอบครัวนั่นเองค่ะ

4. ไม่ให้ลูกเล่นมือถือบ่อยๆ พยายามให้เล่นเป็นเวลา

เราต้องมีกฎเกณฑ์ในการเล่นมือถือของลูกว่าเวลาไหนควรเล่น เวลาไหนไม่ควรเล่น บอกให้เขาได้รู้ค่ะ เขาจะได้ทำตัวถูก ที่สำคัญ การเล่นมือถือมากๆ ยิ่งจะทำให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นลงค่ะ

5. สละเวลาพาลูกไปเที่ยวเล่นนอกบ้านบ้าง

เราควรพยายามหาเวลาพาลูกๆ ไปเที่ยวบ้าง ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลก็ไม่เกี่ยง เพื่อให้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ลูกไม่เคยเห็นนั่นเอง อย่าให้ลูกอยู่แต่ในบ้าน เพราะเด็กอาจจะเบื่อหน่าย และมีความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่บ้านแล้วนั่นเองค่ะ

6. ถ้าเหนื่อย และง่วงมากๆ ให้รีบนอนพัก แต่ถ้านอนไม่ได้ ให้รีบดื่มกาแฟ 

หากคุณพ่อคุณแม่มีอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน แล้วยังต้องมาเลี้ยงลูกอีก เราขอแนะนำให้นอนพักผ่อนเลยค่ะ โดยฝากลูกไว้กับคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ เมื่อเราตื่นมาก็พร้อมที่จะลุยหน้าที่พ่อแม่ต่อแล้ว

7.  อ่านนิทานให้ฟังก่อนนอนทุกวัน แม้ลูกจะไม่ตั้งใจฟังก็ตาม

ในหลายๆ ครั้ง ที่เราเล่านิทานให้ลูกที่เป็นโรคสมาธิสั้นฟัง แต่ดูเหมือนเขาจะไม่สนใจเราเสียเลย อย่าน้อยใจไปนะคะ เขาอาจจะแค่ไม่มีสมาธิเท่านั้นเอง วิธีแก้ คือ การพยายามดึงความสนใจจากลูกให้ได้มากที่สุด แต่ก็ห้ามโมโหลูกด้วยนะคะ ให้ค่อยๆ โน้มน้าวให้ลูกมาฟังนิทานนั่นเอง

8. หมั่นสอนการบ้านลูกบ่อยๆ ทำด้วยกันเสมอ อย่าปล่อยให้ลูกทำคนเดียว

การบ้านเป็นสิ่งที่ลูกไม่อยากทำอยู่แล้ว ยิ่งต้องมานั่งทำคนเดียว และไม่มีใครสนใจด้วยแล้ว เด็กๆ ยิ่งไม่อยากทำเลยค่ะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไปช่วยลูกทำการบ้าน อาจจะแค่ไกด์ๆให้เขาเป็นแนวทาง บางทีก็ทำให้ลูกอยากทำการบ้านขึ้นอีกเป็นกองก็ได้นะคะ

9. พาลูกไปพบแพทย์อยู่เสมอ ให้เด็กชินและไม่กลัว

คุณพ่อคุณแม่ควรชวนลูกไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้นอย่างต่อเนื่อง ให้ขาดหายค่ะ โดยที่ไม่ปลูกฝังความคิดผิดๆ ว่า ระวังนะ!! หมอจะฉีดยาถ้าเป็นเด็กดื้อมากๆ แต่เราต้องทำให้ลูกรักการไปพบคุณหมอที่ใจดี ให้ลูกรู้สึกชินและไม่กลัวค่ะ

ไม่เสียหายหรอกค่ะหากคุณพ่อคุณแม่จะกังวลเรื่องลูกที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะรักษาโรคให้หาย แต่เราก็ต้องคอยดูแลและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อที่จะได้ดูแลลูกให้มีอนาคตที่ดีขึ้นใช่ไหมคะ ยังไงก็อย่าลืมนำ 9 กลยุทธ์ปรับตัวสำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกเป็นสมาธิสั้นกันดูนะคะ รับรองใช้ได้ผลแน่นอน

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :  นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save