fbpx

ถกปัญหา! ระหว่างวัคซีน Pfizer VS Sinopharm ลูกควรฉีดอะไรดี?

Writer : Mneeose
: 4 ตุลาคม 2564

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก สร้างความกังวล และความตึงเครียดให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก ยิ่งมีการเปิดภาคเรียนในเดือนพฤศจิกายนนี้แล้ว ลูกๆ ก็ต้องเดินทางไปโรงเรียน ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีความเสี่ยงแค่ไหน?

ในปัจจุบัน พบว่า แม้จะมีการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก

เด็กที่ติดเชื้อโควิ-19 จนเสียชีวิต มักจะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้โควิด-19 รุนแรงขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนจึงเกิดความกังวล และสงสัยว่า ลูกเราควรฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนดีนั่นเอง ระหว่าง Pfizer VS Sinopharm ไปดูกัน

เมื่อวันพุธที่ 29 กันยายน 2564 ที่ผ่านมานี้ Parents One ได้ไปเจอบทความของเพจ เลี้ยงลูกโตไปด้วยกันกับหมออร Hormone for Kids กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ ที่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก และวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ว่า

ควรให้เด็กและวัยรุ่นฉีดวัคซีนชนิดที่ได้รับการรับรอง ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทยให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น โดยให้ตรงตามอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ และวัคซีนได้ผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งในตอนนี้ มีเพียง “วัคซีน mRNA ของไฟเซอร์” ชนิดเดียวเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ข้างต้น

  • ส่วนวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่แน่ชัดว่าเหมาะสำหรับเด็กจริงๆ เพราะอยู่ในขั้นของการวิจัยนั่นเองค่ะ

ดังนั้น เราไปทำความรู้จักกับวัคซีนไฟเซอร์ให้ดีมากยิ่งขึ้นกันดีกว่า

 

เงื่อนไขที่เด็กจะสามารถได้รับวัคซีนไฟเซอร์ มี 3 ประเด็นหลักๆ คือ

  • ก่อนฉีดไฟเซอร์ : ต้องเป็นการฉีดที่เด็กสมัครใจฉีด และได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อนแล้วเท่านั้น
  • วัคซีนไฟเซอร์จะถูกจัดสรรผ่านโรงเรียน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้น ม.1 – ม.6 ปวช./ปวส.
  • เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป :
    • เด็กผู้หญิง : สามารถฉีดไฟเซอร์ได้ทุกคน ทั้งเด็กที่ร่างกายแข็งแรง และเด็กที่เป็น 7 กลุ่มเสี่ยง
    • เด็กผู้ชาย : ให้ฉีดเฉพาะวัคซีนเข็มที่ 1 ส่วนเข็มที่ 2 ให้ชะลอไปก่อน เนื่องจาก อาจเกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับภาวะ “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” หรือ “เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ”

ซึ่งภาวะ “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” หรือ “เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ” (myocarditis/pericarditis) พบบ่อยในเด็กชายอายุ 12-16 ปี หลังจากที่ฉีดวัคซีน mRNA ไฟเซอร์เข็ม 2 นั่นเอง โดยมีอาการ หายใจหอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 3-7 วัน หลังได้รับวัคซีน

ดังนั้น เด็กผู้ชายที่อายุ 12-15 ปี จึงควรฉีดไฟเซอร์เพียงเข็มเดียวเท่านั้น เพราะแค่เพียงไฟเซอร์เข็มเดียว ก็สามารถป้องกันอาการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้สูงถึง 94% แล้วค่ะ และแน่นอนว่า เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” หรือ “เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ” ด้วยนั่นเอง

ข้อปฏิบัติหลังจากที่ลูกฉีดไฟเซอร์แล้ว

  • งดออกกำลังกาย 1 อาทิตย์
  • ถ้ามีอาการปวดหัว ควรกินยาแก้ปวดลดไข้
  • สังเกตอาการหากมีอะไรปกติ เช่น
    เจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที! รวมทั้งแจ้งข้อมูลว่าเพิ่งได้รับวัคซีนไฟเซอร์

สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเพจ เลี้ยงลูกโตไปด้วยกันกับหมออร Hormone for Kids กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ ที่นำความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กมาบอกต่อกันนะคะ และทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณพ่อคุณแม่น่าจะต้องหันมาใส่ใจ หาข้อมูล และดูแลลูกเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่ไม่มากก็น้อยนั่นเอง สุดท้ายนี้ ทุกๆ วัคซีน มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขอยู่ในตัวมันเอง ก่อนที่จะตัดสินใจให้ลูกฉีดวัคซีนใดๆ คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบเช็กข้อมูลกันดีๆ ก่อนนะคะ จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในภายหลังนั่นเอง 

ด้วยความเป็นห่วงอย่างจริงใจ จาก Parents One

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง :

เลี้ยงลูกโตไปด้วยกันกับหมออร Hormone for Kids กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ
คำแนะนำในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่2)
เปิดคำแนะนำ “ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์” ฉีดไฟเซอร์เด็ก 12 ปี

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save