fbpx

สมาธิสั้นคืออะไร? ลูกเรากำลังเข้าข่ายอยู่หรือเปล่า

Writer : Lalimay
: 21 กุมภาพันธ์ 2561

หากพบว่าลูกซนผิดปกติ ชอบเล่นอะไรแรงๆ อยู่นิ่งไม่ค่อยได้ หรือหุนหันพลันแล่น ไม่รู้จักการรอคอย อาจสันนิษฐานได้ว่าลูกกำลังเข้าข่ายเป็นเด็กสมาธิสั้น ซึ่งในปัจจุบันเด็กมีแนวโน้มสมาธิสั้นกันมากขึ้น หลายๆ คนอาจจะยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นอยู่ วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาให้คุณพ่อ-คุณแม่ทำความเข้าใจให้มากขึ้นค่า

สมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า คือความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง จึงทำให้สมองบางส่วนที่ทำหน้าที่สร้างความเอาใจใส่และทำหน้าที่ยับยั้งให้คนเราเคลื่อนไหวช้าลง ทำงานไม่ดีเท่าที่ควร เป็นปัญหาของการควบคุมตนเองไม่ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ และซน

โรคนี้พบได้ประมาณ 11% ของเด็กวัยเรียนและพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กหญิงถึงสี่เท่า เด็กที่มีภาวะนี้มักมีอาการที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งในที่บ้าน โรงเรียน หรือในสังคม พ่อแม่และครูมักเข้าใจผิดว่าอาการของโรคนี้เป็นอาการจากปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ ด้วยการรักษาร่วมกันทั้งยา และการปรับพฤติกรรมของเด็ก

อาการของสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 อาการย่อยๆ คือ

  • ซนมาก : เด็กจะไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย วิ่งเล่นทั้งวันได้ไม่มีหยุด มักชอบเล่นอะไรที่เสี่ยงๆ เล่นแรงๆ ไม่กลัวเจ็บ อยู่นิ่งไม่ได้ ผุดลุกผุดนั่งอยู่ตลอดเวลา เมื่อเข้าโรงเรียนคุณครูมักจะบอกว่าเด็กไม่ยอมเรียน อยู่ไม่นิ่ง ลุกอกกจากโต๊ะและเดินวนในห้อง
  • สมาธิสั้น : เด็กจะเหม่อ เรียกชื่อแล้วไม่หัน พูดสั่งให้ทำแล้วไม่ทำตาม นั่นเป็นเพราะว่าเด็กฟังคำสั่งได้ไม่ครบ เนื่องจากใจไม่ได้อยู่กับคนพูด ทำให้ฟังประโยคยาวๆ ได้ไม่จบ แรกๆ ทำให้เรียนได้ไม่ค่อยดี เพราะไม่สามารถรับความรู้ใหม่ๆ ได้เต็มที่ ชอบทำของหายบ่อยเพราะจำไม่ได้ว่าเอาไปวางไว้ที่ไหน
  • หุนหันพลันแล่น : เด็กจะไม่รู้จักการรอคอย ต้องตอบโต้ทันที สังเกตได้จากเด็กจะชอบพูดสวน ชอบโพล่งขึ้นมากลางวงสนทนา หรือชอบแซงคิว

ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ อาจจะมีทุกอย่างหรือมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และอาการเหล่านี้ต้องเกิดก่อนอายุ 12 ปี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสมาธิสั้น

  • พันธุกรรม (โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว) หากเด็กเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีประวัติเป็นโรคสมาธิสั้น เด็กก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นได้
  • การสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตะกั่ว
  • แม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • การเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น เคยเป็นไข้สมองอักเสบ มีอุบุติเหตุทางสมอง โรคลมชัก ฯลฯ
  • การคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  • การเลี้ยงลูกด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์

วิธีการรักษา

วิธีการรักษาโรคสมาธิสั้นมีอยู่ 2 วิธีและต้องใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน คือ

  1. การปรับพฤติกรรม : ในเด็กสมาธิสั้นสิ่งที่สำคัญคือ การกำหนดข้อตกลงในเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมดีให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน และให้การเสริมแรงทางบวกคือคำชมเวลาที่เด็กสามารถทำพฤติกรรมที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการปรับพฤติกรรมอาจะต้องใช้เวลานานและต้องทำย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยอยู่ในคำแนะนำของแพทย์
  2. การรักษาด้วยยา : ยาที่ใช้มักเป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้น ซึ่งเป็นยาที่ใช้ได้ผลดี ยาเหล่านี้เป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง โดยจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบลง อีกทั้งมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น เด็กจะไม่ได้ซึมลง ถ้าซึมลงต้องกลับไปปรึกษาแพทย์ เพราะแสดงว่ายานั้นมีผลข้างเคียงหรือขนาดของยาที่กินไม่เหมาะกับเด็ก แพทย์จะได้เปลี่ยนยาหรือปรับขนาดยาให้เหมาะสม

แน่นอนว่าการให้ยาทุกชนิดเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องศึกษาให้ดีก่อนจนเข้าใจ และพ่อแม่ย่อมไม่ต้องการให้ยาที่จะเกิดผลข้างเคียงกับลูก แต่เนื่องจากบางคนเคยได้ยินข้อมูลผิดๆ มาเกี่ยวกับยารักษาสมาธิสั้น เช่น การกินยาจะทำให้กดประสาท ทำให้ไม่โต ทำให้ติดยา เป็นต้น จึงไม่ยอมให้ลูกรับประทานยา โดยพ่อแม่อาจลืมคิดไปว่าถ้าลูกไม่ได้รักษา จะมีผลเสียตามมาในอนาคต คือ เด็กสมาธิสั้นจะมีโอกาสเป็นวัยรุ่นเกเร และต่อต้านสังคมได้มากกว่าเด็กปกติ 3-4 เท่า นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตัวเองจะลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการถูกชักจูงให้ใช้สารเสพติดได้ง่าย

พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้เราเข้าใจในตัวลูกว่าเป็นความผิดปกติของสมองไม่ได้เป็นเพราะปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม และเด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีสติปัญญาปกติและหายจากสมาธิสั้นได้แน่นอนหากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากนี้สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือ

  • งดเลี้ยงลูกด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี หลีกเลี่ยงการให้ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกม ถ้าอายุมากกว่า 2 ขวบให้อนุญาตได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงสำหรับทุกจอ
  • สร้างวินัยให้ลูก ให้กิน นอน เล่น เป็นเวลา ให้เด็กทราบว่าเวลาไหนควรทำอะไร เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
26 พฤศจิกายน 2561
ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
11 ธันวาคม 2563
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save