fbpx

5 วิธีเลี้ยงลูกยังไงไม่ให้เอาแต่ใจจนเสียคน

Writer : nunzmoko
: 18 กุมภาพันธ์ 2563

การที่ลูกเอาแต่ใจ มาจากการที่เด็ก “เห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง” เรียกว่า self-centered เป็นลักษณะปกติของเด็กเล็ก แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นธรรมดา แต่ถ้าเด็กเอาแต่ใจมาจากการที่พ่อแม่เผลอเลี้ยงลูกแบบผิดๆ หรือสปอยล์ลูกมากไปโดยไม่รู้ตัว จนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกเสียคนได้คงต้องมาปรับกันใหม่ วันนี้เรามีวิธีแนะนำการเลี้ยงลูกยังไงไม่ให้เสียคนมาฝากค่ะ

1. สอนให้ลูกรู้จักการให้และรับอย่างเหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นตัวอย่าง เช่น การไปบริจาคของที่ไม่จำเป็น เพื่อปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กที่มีน้ำใจ รู้สึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนถ้าลูกมีของที่รักมาก ก็ควรบอกลูกไปว่าหนูไม่ต้องแบ่งให้คนอื่นก็ได้นะคะ เพราะคนทุกคนมีของที่รักหรือหวงมาก แต่บางอย่างที่รักหรือชอบไม่มาก สอนให้ลูกลองแบ่งให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวใช้ได้ ได้เล่น ได้ทานดู เพราะทำกิจกรรมหลายๆ คนสนุกดีออกค่ะ

2. ให้ลูกได้เข้าสังคมและมีพื้นที่เล่นอย่างอิสระ

คณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการเข้าสังคม ได้เล่นกับเพื่อนคนอื่นนอกจากคนในบ้าน ลูกจะได้ฝึกเรื่องการแบ่งปัน อดทน และ การรอคอย เป็นการเปิดโอกาสเด็กได้เล่นอย่างเป็นอิสระ จะช่วยให้เด็กๆ รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมและลดความเป็นศูนย์กลางของตนเองลงได้ค่ะ

3. สร้างกฎกับลูกแต่ไม่ควรดุหรือตีลูก

สร้างกฏกับลูก เพื่อให้ลูกเชื่อฟังและรู้จักเคารพกฎที่ตั้งขึ้น เช่น ไม่ใช้นิ้วมื้อจิ้มนู้นนั่นนี่ ไม่เอามือเข้าปาก หรือไม่วิ่งเล่นบนถนน ไม่อยู่คนเดียวตามลำพัง เป็นต้น และไม่ควรดุหรือตีลูกโดยเฉพาะต่อหน้าเพื่อน ควรแสดงความรู้สึกให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่ลูกทำ คุณพ่อคุณแม่ผิดหวังนะคะ เป็นต้น

4. นิ่งสงบสยบความเอาแต่ใจ

เมื่อเห็นว่าลูกเรียกร้องในสิ่งที่ไม่สมควร หากพ่อแม่ตามใจในทุกเรื่องก็ย่อมไม่ส่งผลดีต่อลูกนัก พ่อแม่ต้องใจแข็งใช้วิธีนิ่งสยบความเอาแต่ใจของลูก และไม่ใช่อารมณ์ ต่อว่า หงุดหงิดใส่ลูก เพราะสิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นวิธีการสอนที่ดีเลยค่ะ

5. สอนพฤติกรรมเชิงบวกในสังคมให้กับลูก

สอนมารยาทพื้นฐานอย่างเช่น เมื่อเจอผู้ใหญ่ให้สวัสดี เมื่อมีคนให้ของก็ต้องกล่าวคำขอบคุณ ถ้าทำผิดก็รู้จักขอโทษ จะทำให้ลูกรู้ว่าในชีวิตไม่ได้มีแค่พ่อแม่และตัวเขา ยังมีคนอื่นในสังคมอีก เป็นพื้นฐานที่ทำให้ลูกไม่ดึงตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางมากเกินไป

การที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง ส่วนใหญ่เกิดมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีหรือตามใจลูกมากเกินไป สิ่งสำคัญที่ลูกต้องการจริงๆ คือความรัก การเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดู ไม่ใช่ของเล่นต่างๆ ที่ลูกเรียกร้องค่ะ

ที่มา – rakluke

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



อ่านก่อนโพสต์รูปลูกลง SOCIAL MEDIA!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save