fbpx

โตไปไม่กินเกินตัว! 5 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของลูกกับอาหาร

: 2 มีนาคม 2565

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่านอกจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง และคนใกล้ตัวแล้ว การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหนูและอาหารที่เขารับประทานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากลูกน้อยมีความสัมพันธ์กับอาหารที่ไม่ดีตั้งแต่ยังเด็ก จะส่งผลให้เขามีปัญหาระยะยาวเกี่ยวกับรูปร่าง น้ำหนัก และอาหารการกินไปจนถึงตอนเขาโตเป็นผู้ใหญ่ และอาจทำให้เขามีโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารในที่สุดค่ะ

ซึ่งความสัมพันธ์กับอาหารที่ดีนั้นสามารถสร้างได้ตั้งแต่ยังเด็ก และเริ่มได้ในครอบครัวเรา จะทำอย่างไรได้บ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ

กินไม่หมดก็ไม่เป็นไรนะ

กินอีกคำนะ เดี๋ยวก็หมดแล้วอาจเป็นความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ที่กลัวลูกจะไม่อิ่มท้อง แต่การบังคับให้ลูกกินให้หมดทั้ง ๆ ที่เขาอิ่มแล้วจะทำให้เขาเคยชินและลืมลิมิตในการกินของเขาไป พยายามอย่าบังคับเมื่อลูกบอกว่าอิ่มแล้ว และยอมให้เขารับประทานอีกจานหากเขายังรู้สึกไม่อิ่มท้อง (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้เขาทานแต่ขนมอย่างเดียวนะคะ)

สังเกตให้ดีและสอนให้เขาสังเกตตัวเองว่าเมื่อไรที่เขารู้สึกว่าได้รับอาหารเพียงพอแล้ว ให้ลูกน้อยหัดฟังร่างกายตัวเอง แล้วเขาจะเริ่มเรียนรู้ว่าร่างกายของเขาต้องการอาหารมากน้อยแค่ไหน

 

ไม่มีอาหารที่ดีหรือแย่

เรามักจะมองว่าอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักผลไม้เป็นอาหารที่ดีในขณะที่อาหารขยะหรือขนมหวานจะถูกมองเป็นอาหารที่แย่จริงอยู่ว่าของหวานหรือขนมขบเคี้ยวนั้นไม่ใช่อาหารหลักและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่อย่างไรก็ตาม อาหารก็คืออาหาร ไม่มีบุญบาปหรือผลกรรมในการรับประทานอาหารค่ะ

ถึงแม้ว่าลูกเราจะไม่ควรกินขนมเป็นมื้อหลักแต่การกินขนมเล็กๆน้อยๆก็ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามการตราหน้าว่าอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นอาหารที่ไม่ดีจะส่งผลให้เขาแอบทานขนมในตอนที่เราไม่เห็นหรือทานขนมในปริมาณมากเมื่อเขามีโอกาส

ส่งเสริมให้เขากินอาหารที่มีประโยชน์โดยการอธิบายสรรพคุณหรือสิ่งดี ๆ ที่เขาจะได้รับจากอาหารประเภทนั้น ๆ ให้เขามีความรู้สึกดี ๆ กับอาหารทุกมื้อค่ะ

 

อย่าใช้อาหารเป็นรางวัล

บางครั้งวิธีการให้ลูกยอมทานผัก คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องตั้งรางวัลให้เป็นของหวานหลังมื้ออาหารสักหน่อย หรือการไม่ยอมให้ลูกทานของหวานเป็นการลงโทษ ที่จริงแล้วเป็นวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับอาหารที่ไม่สมควรทำค่ะ เพราะเหมือนกับข้อที่แล้ว จะทำให้เขาเชื่อมโยงอาหารกับความดีหรือความไม่ดีได้ และทำให้เขารู้สึกว่าอาหารบางชนิดนั้นเป็นที่ต้องการหรือเป็นอาหารที่ดีกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ

นอกเหนือจากอาหารแล้ว ควรให้รางวัลเป็นของเล่นชิ้นน้อย ๆ สติ๊กเกอร์ การได้เล่นกับเพื่อน การได้ใช้เวลากับคุณพ่อคุณแม่ หรือกิจกรรมสนุก ๆ ที่สามารถทำกันได้ทั้งครอบครัวค่ะ

 

ทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา

รู้หรือไม่ว่าการทานอาหารกันพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นครอบครัวสามารถช่วยป้องกันพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดได้ด้วย ถึงแม้ว่าตารางเวลาและหน้าที่การงานอาจทำให้การทานอาหารร่วมกันเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่พยายามหาเวลาเพื่อรับประทานอาหาร ทำอาหาร หรือลองอาหารใหม่ ๆ ร่วมกันเป็นครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารและส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแข็งแรงขึ้นค่ะ

 

ไม่เอาน้ำหนักและรูปร่างเป็นที่ตั้ง

เป็นปกติที่คุณพ่อคุณแม่จะเป็นห่วงเรื่องน้ำหนักและรูปร่างของเจ้าหนู แต่การล้อเลียนหรือแซวน้ำหนักและรูปร่างนั้นสามารถสร้างปมให้แก่ตัวเด็กและจะอยู่กับเขาไปจนถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กหรือวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเยอะกว่าเกณฑ์มักมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นใจในตัวเองและเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าจากการหยอกล้อของคนรอบข้าง

แทนที่จะใส่ใจเรื่องรูปร่างให้คุณพ่อคุณแม่พยายามเป็นกลางในเรื่องของน้ำหนักเพราะร่างกายของมนุษย์นั้นมีหลากหลายรูปแบบเป็นปกติที่รูปร่างและขนาดของร่างกายทุกคนจะไม่เหมือนกันสนับสนุนให้เจ้าหนูได้กินอาหารที่หลากหลายและให้เขาได้ออกกำลังกายในกีฬาหรือการละเล่นที่เขาชื่นชอบไม่ว่าจะเป็นศิลปะการป้องกันตัวการเต้นระบำกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save